โฆษกกรมสุขภาพจิต เผย โรคอยากขโมยมีจริง ชี้ ต้องตรวจรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาอีกครั้งว่าป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ หรือสาเหตุการขโมยที่ญี่ปุ่นเกิดจากอะไร
จากกรณีที่ นายสุภัฒ สงวนดีกุล รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ถูกจับกุมตัวที่ญี่ปุ่น หลังจากที่มีการตั้งข้อสงสัยว่านายสุภัฒขโมยภาพวาดที่แขวนไว้ตรงทางเดินของโรงแรม (อ่านข่าว : ตำรวจญี่ปุ่น จับรองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ขโมยภาพวาดในโรงแรม)
สำหรับอาการของบุคคลเหล่านี้จะเกิดทันทีเมื่อเห็นของที่อยากได้ และจะรู้สึกทรมานใจหากไม่ได้เอาไป ซึ่งอาจจะเอาไปแล้วนำมาคืนหรือเอามาเป็นของตัวก็ได้ อย่างไรก็ตาม จะแตกต่างจากคนที่มีนิสัยชอบขโมย เพราะคนเหล่านั้นจะมีการวางแผนล่วงหน้าและขโมยของเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อตัวเอง เช่น ขายหาเงิน เป็นต้น
ส่วนการสังเกตและป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมนี้ คือ ถ้ามีความอยากได้ของคนอื่นโดยที่เจ้าของไม่รับรู้เพียงครั้งเดียว ต้องไม่ลงมือทำ และไปพบจิตแพทย์หรือบุคคลใกล้ชิดที่ไว้ใจได้ ส่วนทางคนที่ใกล้ชิดก็ต้องไม่ต่อว่าซ้ำเติม ต้องชื่นชมที่กล้าบอกปัญหานี้ และหาแนวทางแก้ไขต่อไป
สำหรับวิธีการรักษานั้น อาจจะมีการใช้ยาเพื่อสร้างความสมดุลของสารในสมอง ลดความกังวล และใช้พฤติกรรมบำบัด นอกจากนี้ยังมีการเลี่ยงไม่ไปสถานที่ที่ชอบไปก่อพฤติกรรมหยิบของผู้อื่น เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า เป็นต้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
สำหรับวิธีการรักษานั้น อาจจะมีการใช้ยาเพื่อสร้างความสมดุลของสารในสมอง ลดความกังวล และใช้พฤติกรรมบำบัด นอกจากนี้ยังมีการเลี่ยงไม่ไปสถานที่ที่ชอบไปก่อพฤติกรรมหยิบของผู้อื่น เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า เป็นต้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น